วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

เพื่อปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ศ.ดร. ธีระพันธุ์ เหลืองทองคำ
รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา
รศ. ดร. ประพนธ์ เจียรกูล
ดร. ชวลิต โพธินคร
ผศ.ดร. พูลทรัพย์ นาคนาคา
อจ.นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข
อจ.พัชรา ประวาลพิทย์
และคณะ

I. ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา
(เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี สำหรับผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่สอง)
ศาสตร์อันเป็นที่มาของระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษายึดศาสตร์หรือหลักวิชา 8 สาขา คือศาสตร์สาขาประสาทวิทยา ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ ศาสตร์สาขาจิตวิทยาภาษาศาสตร์ ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง ทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยมองค์ความรู้เรื่องสันติวิธีและหลักการสร้างค่านิยมจริยธรรมจากเรียนภาษาไทย ซึ่งมีคำอธิบายดังนี้ 1.1 ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (Neurosciences) 
ให้ความรู้ว่าระบบประสาทและสมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย แต่ทำหน้าที่พิเศษต่างจากอวัยวะอื่น คือทำหน้าที่ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกระบบทุกส่วนของร่างกาย สมองทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมจิตใจ -ความรู้สึกและพฤติกรรมตลอดชีวิต และประการสำคัญที่สุดคือระบบประสาทและสมองทำหน้าที่เรื่องการรับรู้ การคิดหลายลักษณะหลายมิติ การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษาของสมองทั้งภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไปที่มนุษย์เรียน การเก็บบันทึกสะสมความเข้าใจในรูปของภาษาที่สมองชีกซ้ายส่วนล่างบริเวณ Wernicke's area และการนำภาษาออกไปใช้ โดยสมองซีกซ้ายส่วนบนบริเวณ Broca's area จะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืน (Retrieve) จากสมอง Wernicke's area ออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคมโดยทำงานร่วมกับสมอง Moter cortex ในการทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้เปล่งเสียงชัดเจนถูกต้อง จะเห็นได้ว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลคือการทำงานของสมอง Broca's area กับสมอง Wernick's area โดยผ่านทางปาก หรือคนใช้สมอง Broca's area คุยกัน การสื่อสารไม่ใช่ใช้ปากคุยกัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าภาษาอยู่ในสมองมิใช่อยู่ที่ปากดังที่ระบบการศึกษาไทยยึดเป็นหลักในการสอน สมองมี 3 สมองคือสมอง Reptilian สมอง Limbic system และสมอง Neocortex ค้นพบ โดย Dr.Paul D.MacLean นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ปี1960 (พ.ศ. 2503) สมอง Neocortex แบ่งออกเป็น 2 ซีกคือซีกซ้ายกับซีกขวา ค้นพบโดย Dr. Roger W. Sperry และได้รับรางวัล Nobel Prize ปีค.ศ.1981 (พ.ศ. 2524) สมองซีกสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รับรู้ คิดหลายลักษณะหลายมิติ เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และสร้างภาษาตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอนไม่ข้ามขั้น ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงเทียบเคียง สมองทำงานเฉพาะส่วนและร่วมกันและสามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้ สมองมีพัฒนาการตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอนตามวัย ไม่ข้ามขั้น ประการสำคัญในช่วงปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิ - 5/6 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตทั้งขนาดและการรู้คิดประมาณ 80% ของผู้ใหญ่ปกติ เหลืออีก 20% เท่านั้นที่จะพัฒนาในช่วงอายุต่อไป สมองมีธรรมชาติเป็นศักยภาพจะต้องได้รับปัจจัยที่ดี 5 ประการจึงจะพัฒนาถึงขีดสูงสุดของศักยภาพได้ คือ อาหารและโภชนาการ การเล่นออกกำลังกายการพักผ่อน การได้รับความรักความภูมิใจ การมีประสบการณ์ทางสังคมที่ดีและการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระตุ้นสมองครบส่วนและพหุปัญญา

แม้สมองซีกซ้ายและขวาจะทำหน้าที่รู้คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และสร้างภาษาก็ตาม แต่ระบบสมองส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่ด้านจิตใจ-ความรู้สึกอารมณ์เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

จากวิทยาการเรื่องหน้าที่และกลไกการเรียนรู้และการสร้างภาษาของสมองดังกล่าว จึงได้นำมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรคนทุกวัยทุกเชื้อชาติเพื่อพัฒนาสมองให้เจริญเติบโตถึงขีดสูงสุดของศักยภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ของแต่ละบุคคล เพื่อให้เป็นทรัพยากรคนที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ สามารถสร้างนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง สังคมประเทศชาติและมนุษยชาติได้ สำหรับด้านการศึกษาได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างน้อย 3 เรื่องคือ
  1. เกิดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สมัยใหม่คือภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา( Neurolinguistics)  
  2. ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา(เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี) เป็นการปฏิวัติวิธีสอนภาษาไทยในฐานะภาษาแม่ ในฐานะภาษาที่สอง  ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งภาษาอื่นที่จะเรียนต่อไป เช่น ภาษากลุ่มอาเซียน
  3. กลุ่มสาระต่างๆได้นำกระบวนการเรียนรู้ของสมองไปพัฒนาวิธีสอนให้บรรลุจุดหมาย
แผนภูมิ 1: The Triune Brain
แผนภูมิ 2: The Speech Chain
1.2 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา(Neurolinguistics) 
ให้ความรู้ว่าสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษา ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา การบันทึกสะสมความรู้ความเข้าใจ (และประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิต) ในรูปของความเข้าใจภาษาไว้ในสมองบริเวณ Wernicke's area และสมอง Broca ทำหน้าที่สื่อสารเรียกข้อมูลภาษาคืน (Retrieve) จากสมอง Wernicke ออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคม การทำหน้าที่สื่อสารของสมอง Broca's area จะมีสมองอีก 2 ส่วนทำงานร่วมกัน คือ Motor cortex และ Arcuate faciculus โดย Moter cortex ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้เปล่งเสียงชัดเจนและถูกต้อง ส่วน Arcuate fasciculus ซึ่งประกอบด้วยเส้นประสาทจำนวนมากมัดแน่น ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลภาษาระหว่างสมอง Wernicke กับสมอง Broca เมื่อต้องการจะสื่อสาร สมอง Broca จะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืน(Retrieve) จากสมอง Wernicke นำข้อมูลความเข้าใจภาษาผ่านทางสะพานเชื่อม Arcuate faciculusออกไปทางปากเพื่อสื่อสาร โดยสมอง Motor cortex ร่วมทำงาน ดังนั้นปริมาณความเข้าใจภาษาที่บันทึกสะสมไว้ในสมองWernickeจึงมีสหสัมพันธ์ทางตรงกับการสื่อสารของสมอง Broca ถ้าสมองWernicke มีข้อมูลภาษามากหรือปานกลาง จะทำให้สมอง Broca เรียกข้อมูลภาษาออกไปสื่อสารใด้มากและปานกลาง ในทางตรงกันข้ามถ้าสมอง Wernicke บันทึกและสะสมข้อมูลภาษาในปริมาณน้อยย่อมไม่มีข้อมูลความเข้าใจภาษาให้สมอง Broca เรียกข้อมูลภาษาคืนได้ ทำให้สมอง Broca ไม่สามารถสื่อสารออกไปได้ หรือพูดไม่ได้นั่นเอง 

Paul Broca ศัลยแพทย์สมองชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คนพบสมองส่วนนี้เมื่อปีค.ศ.1861 และเป็นผู้ประกาศวาทะที่มีชื่อเสียงว่า ศูนย์กลางของภาษาอยู่ในสมองซีกซ้ายบริเวณด้านหลังของสมองส่วนหน้า เราพูดได้เพราะสมองส่วนนี้และได้รับการตั้งชื่อว่า Broca's area ตามชื่อของเขา และอีก 10 ปีต่อมาคือปีศ.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) Carl Wernicke นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบสมองที่ทำหน้าที่ด้านบันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาซึ่งอยู่นี้บริเวณส่วนหน้าของสมองซีกซ้าย ถ้าคนไข้มีบาดแผลที่สมองบริเวณนี้จะพูดได้แต่พูดไม่รู้เรื่อง และสมองส่วนนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Wernicke's area สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ 4 เรื่องคือ
  1. ความเข้าใจภาษา 
  2. กระบวนการเข้าใจความหมายของคำทั่วไปและมีความหมายเชิงนัยยะ 
  3. บันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาในสมอง
  4. การแปลความหมาย 
นั่นคือหน้าที่และกลไกสมองเรื่องภาษาทั้งหมดจึงเป็นที่มาของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neurolinguistics) เป็นที่มาของทฤษฎีจินตกรรมทางภาษา (The Cognitive Code Learning Theory) และระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา (หรือเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี) ดังนั้นสพฐ(สปช)ได้นำวิทยาการดังกล่าวมาปฏิวัติวิธีสอนทั้งระดับอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา กล่าวคือระดับอนุบาลศึกษาเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอนุบาลชนบทปีพ.ศ. 2529 แล้ว จึงดำเนินโครงการย่อยที่ 1 ด้านคุณภาพวิธีสอนหรือการจัดกิจกรรมประจำวันด้วยเทคนิคบูรณาการสมองครบส่วนและพหุปัญญาทั้งนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่สองใน 5 จังหวัดภาคใต้ 9 จังหวัดภาคเหนือและ 3 จังหวัดภาคอิสานตอนล่าง โดยจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์ชื่อรายการ ขอให้หนูคิดเอง เมื่อปีพ.ศ. 2537 จำนวน 56 รายการ เพื่อสาธิตวิธีสอนแบบใหม่อบรมและพัฒนาครูอนุบาลศึกษาให้ถึงครูอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ได้ทันทีพร้อมกันทั้งประเทศ กล่าวได้ว่าเป็นการสาธิตวิธีสอนแบบพัฒนาสมองครบส่วนและพหุปัญญาด้วยระบบการศึกษาทางไกล(โทรทัศน์)ที่ยาวที่สุดในวงการศึกษาไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์การศึกษา 3 ท่าน คือหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา  ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำและรศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา สำหรับโครงการย่อยที่ 2 ปฏิวัติวิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่สอง ด้วยระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา(ซึ่งระยะแรกใช้ชื่อเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี เพื่อให้เข้าใจง่าย) เริ่มศึกษาตั้งแต่พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านดังกล่าวเป็นฝ่ายวิชาการ มีผลงานคู่มือครู ตำราและรายงานวิจัย จัดพิมพ์คู่มือครูเรื่องเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมจำนวน40,000เล่ม แจกทุกโรงเรียนและสำนักงานสังกัดสพฐ(สปช)ทุกแห่ง และเมื่อปีพ.ศ.2543-2544 สพฐ/สปชได้วิจัยเปรียบเทียบวิธีสอนภาษาไทย 3 วิธี คือ เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา(มปภ)และวิธีสอนแบบบูรณาการขึ้นอยู่กับความถนัดของครูผู้สอน สำหรับเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาหรือภาษาอยู่ในสมอง ส่วนวิธีสอนแบบมปภและแบบบูรณาการยึดทฤษฎีพฤติกรรมทางภาษาเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ผลการวิจัยพบว่าในระยะยาวชั้นป.2 เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนแบบมปภตามลำดับ และชั้นป.3และป.4 เปรียบเทียบกับการประเมินผลแบบNT เทคนิคการสอนรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยต่างกับวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนร้อยละ7.97 และ 6.7 ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม ยึดหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาและมีผลวิจัยรองรับ สำหรับเทคนิคการสอนออกแบบเป็น 3 ระยะดังนี้ 
  1. ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน (Pre-reading)  เพื่อสร้างความสนใจในการเรียน ให้นักเรียนอยากเรียน อยากอ่าน อยากเขียน ไม่ต้องการให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทันที แต่ไม่อยากอ่านไม่อยากเขียนไม่อยากเรียน ฝึกทักษะการอ่านแบบคร่าวๆ (Skim) ฝึกการเดาคาดคะเนสาระโดยรวมจากเรื่องที่อ่านหรือหา Gist (General Information System) คำใหม่อ่านไม่ออกไม่ต้องอ่าน ให้ข้ามไป ให้ถามนักเรียนว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร นักเรียนย่อมคาดเดาต่างๆกัน ให้ถามเหตุผลและคำหรือข้อความใดที่ทำให้นักเรียนคาดเดาเช่นนั้น สภาพในสมองของนักเรียนจะงัน-งงเพราะต้องเดาคาดคะเน ไม่มั่นใจว่าจะถูกหรือจะผิด 
  2. ระยะที่ 2 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด (During reading ) เพื่อฝึกทักษะการอ่านแบบต่างๆได้แก่การอ่านแบบพินิจ (Scan) เพื่อหาใจความหลักและใจความรอง ฝึกทักษะการเรียนคำใหม่แบบแจกลูกสะกดคำหรือแบบจำเป็นคำและความหมายของคำในบริบทของแบบเรียนและสถานการณ์จริงข้อมูลจริงต่างๆ ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ สำหรับทักษะการคิดจะฝึกประเมินเรื่องที่อ่าน ฝึกตั้งคำถามเรื่องที่อ่าน 3 - 5 คำถามขึ้นอยู่กับระดับชั้นของนักเรียน ฝึกการตั้งคำถามระดับสูงการคิดวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเหตุผล บูรณาการจริยธรรมในแบบเรียน ฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ฝึกการตั้งคำถามปลายเปิด นักเรียนสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลายไม่ผิด เพื่อฝึกความคิดจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ สำหรับสภาพในสมองนักเรียนจะเรียนรู้ เข้าใจตามลำดับเรียกว่าระยะเงย-งอก จากการทำกิจกรรมต่างๆทำให้สมองเรียนรู้สามารถสร้างความเข้าใจภาษามากยิ่งขึ้น เล่าอธิบายถูกต้องและสร้างสรรค์ สภาพภายในสมองจึงเป็นระยะง่าย-งาม สมองWernickeบันทึกสะสมความเข้าใจภาษาได้มาก ทำให้มีความพร้อมเรียนการเขียน 
  3. ระยะที่ 3 สร้างทักษะการเขียน (Post reading ) จากกิจกรรม ระยะที่1 ระยะที่ 2 ทำให้นักเรียนมีข้อมูลภาษาในสมอง Wernickeมาก มีทักษะภาษาและทักษะการคิดเพียงพอ สำหรับการเขียนขั้นต้น เน้นการแสดงความคิดออกทางการเขียน ยังไม่เน้นเทคนิคการเขียน สำหรับการเขียนคำผิดให้ค่อยๆแก้ไข แนวทางจัดกิจกรรมการสอนเขียน เช่นการเขียนสรุปด้วยภาษาของนักเรียน ถ้านักเรียนเป็น...จะพูดอะไรกับคน/สัตว์ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ...คน คนปฏิบัติอย่างไรกับ... เขียนประสบการณ์ของนักเรียนที่เคยมีปัญหาเช่นเดียวกับตัวละครในเรื่องที่อ่านและวิธีแก้ไข ช่วยกันทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดี การวาดภาพและเขียนเล่าเรื่อง นักเรียนช่วยกันทำหนังสือฯ กิจกรรมดังกล่าวเสนอแนะให้ทำเพิ่มเติมจากการทำแบบฝึกหัดประประจำบทเรียน
ในระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา ครูจะใช้เวลาประมาณ 80% ใน 1 ชั่วโมง
จากกระบวนการสร้างและรับ / เรียนภาษาของสมองดังกล่าว Vygotsky ได้สรุปให้เห็นชัดเจนว่า "Language is added by speech, not the reverse"  หมายถึง ความคิดแสดงออกทางภาษา แต่ไม่เป็นปฏิภาคกัน  ดังนั้น การใช้วิธีสอนที่ไม่ให้สมองคิดและสร้างภาษาจะทำให้นักเรียนคิดไม่เป็น

แผนภูมิ 3: นักเรียนกับการรับเรียนภาษา 5 ขั้นและทุกกลุ่มของสมอง
แผนภูมิ 4: เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม
แผนภูมิ 5: วิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา
แผนภูมิ 6: ขั้นตอนในการสอนฟัง พูด อ่าน เขียน แบบรับภาษา
แผนภูมิ 7: ทฤษฎีและเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับสันติวิธี
1.3 ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (Phonetics&Linguistics) 
ให้ความรู้ว่าโครงสร้างของภาษาประกอบด้วย 5ระบบคือหน่วยเสียง(Phoneme) หน่วยคำ((Morpheme) วากยสัมพันธ์(Syntax) ว่าด้วยการประกอบคำเป็นประโยคหน้าที่ของคำในประโยค อรรถศาสตร์ (Semantics) ศึกษาของเขตของความคิดตั้งแต่ความคิดทั่วไปจนถึงขั้นสัญลักษณ์กับความฉลาดที่เลือกใช้คำและประโยคที่มีความหมายเป็นนัยยะและวัจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) คือการศึกษาวิธีสื่อสารของผู้พูดกับการตีความของผู้ฟัง เน้นความเข้าใจสาระมากกว่าความหมายของศัพท์ สำหรับการนำไปใช้จัดการเรียนการสอนทั้งชั้นเริ่มเรียนภาษาแม่หรือภาษาที่2 จะต้องจัดให้ครบ 3 ระบบแรกจึงจะทำให้นักเรียนมีทักษะภาษาขั้นที่ 1-2 พูด-ฟัง สามารถฟังสารสื่อสารได้ สาเหตุที่นักเรียนไทยสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ไม่ได้แม้จะเรียนมากกว่า 10 ปีเพราะครูสอนภาษาอังกฤษ เพียง 2 ระบบ แรกคือเสียงกับความหมายหรือสอนศัพท์กับสอนแบบแปล-ไวยากร หรือแม้กระทั่งการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในโรงเรียนชายแดนรอบประเทศสอนเพียง 2 ระบบแรกคือเสียงกับความหมายคือสอนคำหรือสอนศัพท์ ให้พูดตามครูซ้ำๆซากๆยัดเยียดเคี่ยวเข็ญ ถ้านักเรียนออกเสียงไม่ถูกพูดไม่ถูก ครูจะแก้ไขทันทีแก้ไขและฝึกซ้ำๆ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนภาษาไทย และออกกลางคัน ส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ อย่างไรก็ตามภาษาไทยไม่ใช่ภาษาต่างประเทศแท้ๆสำหรับประชาชนในบริเวณชายแดน พวกเขาใช้ภาษาไทยเสมอในการซื้อ-ขาย ติดต่อราชการ ไปโรงพยาบาลโรงเรียน ฟังข่าวสารจากวิทยุโทรทัศน์ ประชาชนรู้ดีว่าความรู้ภาษาไทยมีประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเขาและบุตรหลาน ผู้ปกครองมักบ่นว่าโรงเรียนหลวงไม่มีความสามารถสอนลูกหลานของเขาให้อ่าน-เขียนภาษาไทยได้(นิธิ เอียวศรีวงศ์. ภาษาประเทศสำหรับชาวมลายู.มติชน 14 ม.ค.2551)มูลเหตุคือระบบการศึกษาไทยใช้วิธีสอนที่เชื่อว่าภาษาไทยอยู่ที่ปากจึงใช้วิธีสอนสร้างนิสัย(The Language Formation Apporach 1.2 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา(Neurolinguistics) ให้ความรู้ว่าสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษา ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา การบันทึกสะสมความรู้ความเข้าใจ(และประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิต)ในรูปของความเข้าใจภาษาไว้ในสมองบริเวณWernicke's area และสมองBrocaทำหน้าที่สื่อสารเรียกข้อมูลภาษาคืน(Retrieve)จากสมองWernickeออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคม การทำหน้าที่สื่อสารของสมองBroca's area จะมีสมองอีก 2ส่วนทำงานร่วมกัน คือ Motor cortex และArculate faciculus โดยMoter cortexทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้เปล่งเสียงชัดเจนและถูกต้อง ส่วนArculate faciculus ซึ่งประกอบด้วยเส้นใหญ่ประสาทจำนวนมากมัดแน่น ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลภาษาระหว่างสมองWernickeกับสมองBroca เมื่อต้องการจะสื่อสาร สมองBrocaจะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืน(Retrieve) จากสมองWernicke นำข้อมูลความเข้าใจภาษาผ่านทางสะพานเชื่อมArculate faciculusออกไปทางปากเพื่อสื่อสารโดยสมองMotor cortexร่วมทำงาน ดังนั้นปริมาณความเข้าใจภาษาที่บันทึกสะสมไว้ในสมองWernickeจึงมีสหสัมพันธ์ทางตรงกับการสื่อสารของสมองBroca ถ้าสมองWernickeมีข้อมูลภาษามากหรือปานกลาง จะทำให้สมองBrocaสื่อสารใด้มากและปานกลาง ในทางตรงกันข้ามถ้าสมองWernickeบันทึกและสะสมข้อมูลภาษาในปริมาณน้อยย่อมไม่มีข้อมูลความเข้าใจภาษาให้สมองBroca เรียกข้อมูลภาษาคืนได้ ทำให้สมองBrocaไม่สามารถสื่อสารออกไปได้ หรือพูดไม่ได้นั่นเอง Paul Broca ศัลยแพทย์สมองชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คนพบสมองส่วนนี้เมื่อปีค.ศ.1861 และเป็นผู้ประกาศวาทะที่มีชื่อเสียงว่าศูนย์กลางของภาษาอยู่ในสมองซีกซ้ายบริเวณด้านหลังของสมองส่วนหน้า เราพูดได้เพราะสมองส่วนนี้และได้รับการตั้งชื่อว่าBroca area ตามชื่อของเขา และอีก10ปีต่อมาคือปีศ.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) Carl Wernicke นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบสมองที่ทำหน้าที่ด้านบันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาซึ่งอยู่นี้บริเวณส่วนหน้าของสมองซีกซ้าย ถ้าคนไข้มีบาดแผลที่สมองบริเวณนี้จะพูดได้แต่พูดไม่รู้เรื่อง และสมองส่วนนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าWernicke's area สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ 4 เรื่องคือความเข้าใจภาษา กระบวนการเข้าใจความหมายของคำทั่วไปและมีความหมายเชิงนัยยะ บันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาในสมองและการแปลความหมาย นั่นคือหน้าที่และกลไกสมองเรื่องภาษาทั้งหมดจึงเป็นที่มาของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา(Neurolinguistics) เป็นที่มาของทฤษฎีจินตกรรมทางภาษา(The Cognitive Code Learning Theory)และระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา (หรือเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี) ดังนั้นสพฐ(สปช)ได้นำวิทยาการดังกล่าวมาปฏิวัติวิธีสอนทั้งระดับอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา กล่าวคือระดับอนุบาลศึกษาเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอนุบาลชนบทปีพ.ศ. 2529 แล้ว จึงดำเนินโครงการย่อยที่ 1 ด้านคุณภาพวิธีสอนหรือการจัดกิจกรรมประจำวันด้วยเทคนิคบูรณาการสมองครบส่วนและพหุปัญญาทั้งนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่ 2ใน 5 จังหวัดภาคใต้ 9 จังหวัดภาคเหนือและ 3 จังหวัดภาคอิสานตอนล่าง โดยจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์ชื่อรายการขอให้หนูคิดเองเมื่อปีพ.ศ. 2537 จำนวน 56 รายการ เพื่อสาธิตวิธีสอนแบบใหม่อบรมและพัฒนาครูอนุบาลศึกษาให้ถึงครูอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ได้ทันทีพร้อมกันทั้งประเทศ กล่าวได้ว่าเป็นการสาธิตวิธีสอนแบบพัฒนาสมองครบส่วนและพหุปัญญาด้วยระบบการศึกษาทางไกล(โทรทัศน์)ที่ยาวที่สุดในวงการศึกษาไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์การศึกษา3ท่าน คือหม่อมดุษฎี บริพัตรฯ ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำและรศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา สำหรับโครงการย่อยที่ 2 ปฏิวัติวิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่ 2 ด้วยระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา(ซึ่งระยะแรกใช้ชื่อเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี เพื่อให้เข้าใจง่าย) เริ่มศึกษาตั้งแต่พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านดังกล่าวเป็นฝ่ายวิชาการ มีผลงานคู่มือครู ตำราและรายงานวิจัย จัดพิมพ์คู่มือครูเรื่องเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมจำนวน40,000เล่ม แจกทุกโรงเรียนและสำนักงานสังกัดสพฐ(สปช)ทุกแห่ง เมื่อปีพ.ศ.2543-2544 สพฐ/สปชได้วิจัยเปรียบเทียบวิธีสอนภาษาไทย 3 วิธี 
คือเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา(มปภ)และวิธีสอนแบบบูรณาการขึ้นอยู่กับความถนัดของครูผู้สอน สำหรับเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาหรือภาษาอยู่ในสมอง ส่วนวิธีสอนแบบมปภและแบบบูรณาการยึดทฤษฎีพฤติกรรมทางภาษาเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ผลการวิจัยพบว่าในระยะยาวชั้นป.2 เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนแบบมปภตามลำดับ และชั้นป.3และป.4 เปรียบเทียบกับการประเมินผลแบบNT เทคนิคการสอนรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยต่างกับวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนแมปภร้อยละ7.97และ6.7ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนแบบรับภาษายึดหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาและมีผลวิจัยรองรับ สำหรับเทคนิคการสอนออกแบบเป็น 3 ระยะดังนี้ 
ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน(Pre-reading)
เพื่อสร้างความสนใจในการเรียน ให้นักเรียนอยากเรียนอยากอ่านอยากเขียน ไม่ต้องการให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทันที แต่ไม่อยากอ่านไม่อยากเขียนไม่อยากเรียน ฝึกทักษะการอ่านแบบคร่าวๆ(Skim) ฝึกการเดาคาดคะเนสาระโดยรวมจากเรื่องที่อ่านหรือหาGist (General Information System) คำใหม่อ่านไม่ออกไม่ต้องอ่าน ให้ข้ามไป ให้ถามนักเรียนว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร นักเรียนย่อมคาดเดาต่างๆกัน ให้ถามเหตุผลและคำหรือข้อความใดที่ทำให้นักเรียนคาดเดาเช่นนั้น สภาพในสมองของนักเรียนจะงัน-งงเพราะต้องเดาคาดคะเน ไม่มั่นใจว่าจะถูกหรือจะผิด ระยะที่ 2 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด (During reading ) เพื่อฝึกทักษะการอ่านแบบต่างๆได้แก่การอ่านแบบพินิจ(Scan)เพื่อหาใจความหลักและใจความรอง ฝึกทักษะการเรียนคำใหม่แบบแจกลูกสะกดคำหรือแบบจำเป็นคำและความหมายของคำในบริบทของแบบเรียนและสถานการณ์จริงข้อมูลจริงต่างๆ ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ สำหรับทักษะการคิดจะฝึกประเมินเรื่องที่อ่าน ฝึกตั้งคำถามเรื่องที่อ่าน 3 - 5 คำถามขึ้นอยู่กับระดับชั้นของนักเรียน ฝึกการตั้งคำถามระดับสูงการคิดวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเหตุผล บูรณาการจริยธรรมในแบบเรียน ฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ฝึกการตั้งคำถามปลายเปิด นักเรียนสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลายไม่ผิดเพื่อฝึกความคิดจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ สำหรับสภาพในสมองนักเรียนจะเรียนรู้ เข้าใจตามลำดับเรียกว่าระยะเงย-งอก จากการทำกิจกรรมต่างๆทำให้สมองเรียนรู้สามารถสร้างความเข้าใจภาษามากยิ่งขึ้น เล่าอธิบายถูกต้องและสร้างสรรค์ สภาพภายในสมองจึงเป็นระยะง่าย-งาม สมองWernickeบันทึกสะสมความเข้าใจภาษาได้มาก ทำให้มีความพร้อมเรียนการเขียน ระยะที่ 3 สร้างทักษะการเขียน (Post reading ) จากกิจกรรม ระยะที่1 ระยะที่ 2 ทำให้นักเรียนมีข้อมูลภาษาในสมองWernickeมาก มีทักษะภาษาและทักษะการคิดเพียงพอ สำหรับการเขียนขั้นต้น เน้นการแสดงความคิดออกทางการเขียน ยังไม่เน้นเทคนิคการเขียน สำหรับการเขียนคำผิดให้ค่อยๆแก้ไข แนวทางจัดกิจกรรมการสอนเขียน เช่นการเขียนสรุปด้วยภาษาของนักเรียน ถ้านักเรียนเป็น...จะพูดอะไรกับคน/สัตว์ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ...คน คนปฏิบัติอย่างไรกับ... เขียนประสบการณ์ของนักเรียนที่เคยมีปัญหาเช่นเดียวกับตัวละครในเรื่องที่อ่านและวิธีแก้ไข ช่วยกันทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดี การวาดภาพและเขียนเล่าเรื่อง นักเรียนช่วยกันทำหนังสือฯ กิจกรรมดังกล่าวเสนอแนะให้ทำเพิ่มเติมจากการทำแบบฝึกหัดประประจำบทเรียน
1.3 ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (Phonetics&Linguistics) ให้ความรู้ว่าโครงสร้างของภาษาประกอบด้วย 5ระบบคือหน่วยเสียง(Phoneme) หน่วยคำ((Morpheme) วากยสัมพันธ์(Syntax) ว่าด้วยการประกอบคำเป็นประโยคหน้าที่ของคำในประโยค อรรถศาสตร์ (Semantics) ศึกษาของเขตของความคิดตั้งแต่ความคิดทั่วไปจนถึงขั้นสัญลักษณ์กับความฉลาดที่เลือกใช้คำและประโยคที่มีความหมายเป็นนัยยะและวัจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) คือการศึกษาวิธีสื่อสารของผู้พูดกับการตีความของผู้ฟัง เน้นความเข้าใจสาระมากกว่าความหมายของศัพท์ สำหรับการนำหลักวิชาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์จัดการเรียนการสอนภาษาทั้งชั้นเริ่มเรียนภาษาแม่หรือภาษาที่2 จะต้องจัดให้ครบ 3 ระบบแรกจึงจะทำให้นักเรียนมีทักษะภาษาขั้นที่ 1-2 พูด-ฟัง สามารถฟังสารสื่อสารได้ สาเหตุทำให้นักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองไทยหรือเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สื่อสารไม่ได้แม้จะเรียนมากกว่า 10 ปีเพราะครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สอนโครงสร้างภาษาเพียง 2 ระบบแรก คือเสียงกับความหมายหรือสอนศัพท์กับสอนแบบแปล-ไวยากรณ์ ไม่ได้สอนวากยสัมพันธ์หรือหน้าที่ของคำในประโยค การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในโรงเรียนชายแดนรอบประเทศก็สอนเพียงสอนเพียง 2 ระบบแรกคือเสียงกับความหมายคือสอนคำหรือสอนศัพท์ ครูจะพูดสอนคำและความหมาย นักเรียนพูดตาม ครูฝึกซ้ำๆซากๆยัดเยียดเคี่ยวเข็ญ ถ้านักเรียนออกเสียงไม่ถูกพูดไม่ถูก ครูจะแก้ไขทันทีและฝึกซ้ำๆ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนภาษาไทย และออกกลางคัน ส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ อย่างไรก็ตามภาษาไทยไม่ใช่ภาษาต่างประเทศแท้ๆสำหรับประชาชนในบริเวณชายแดน พวกเขาใช้ภาษาไทยเสมอในการซื้อ-ขาย ติดต่อราชการ ไปโรงพยาบาลโรงเรียน ฟังข่าวสารจากวิทยุโทรทัศน์ ประชาชนรู้ดีว่าความรู้ภาษาไทยมีประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเขาและบุตรหลาน ผู้ปกครองมักบ่นว่าโรงเรียนหลวงไม่มีความสามารถสอนลูกหลานของเขาให้อ่าน-เขียนภาษาไทยได้(นิธิ เอียวศรีวงศ์. ภาษาต่างประเทศสำหรับชาวมลายู มติชน 14 มค.2551) มูลเหตุคือระบบการศึกษาไทยยึดความเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปากจึงใช้วิธีสอนแบบสร้างนิสัย(The Language Formation Approach) ทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 และสอนโครงสร้างภาษาเพียง 2 ระบบคือเสียงกับความหมาย มุ่งการออกเสียงที่ถูกต้อง ละเลยการใช้ภาษา




1.4 ทฤษฎีจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) 
ให้ความรู้ว่าพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนหรือวัยของผู้เรียนทั้งด้านจิตใจ-ความรู้สึกอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา สมรรถภาพของสมองในการรู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์การสร้างภาษาและด้านร่างกายของเด็กแต่ละวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา ประถมศึกษาหรือวัยเด็กตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย ระดับมัธยมศึกษาวัยรุ่นตอนต้น ตอนกลางและตอนปลายพัฒนาการทุกด้าน จะเป็นหลักในและการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนของระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา แต่การศึกษาวิจัยด้านจิตใจ-ความรู้สึกของนักเรียนแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังไม่เข้าใจจิตวิทยาผู้เรียนทั้งเด็กและวัยรุ่นกล่าวคือ การศึกษาวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ปี 2554 โรงเรียนสังกัด กทม.พบว่า นักเรียนเบื่อการเรียน มีการแข่งขันทางการเรียนมาก เบื่อครู เคยหนีเรียน ไม่อยากเรียน อยากออกไปหางานทำ การศึกษาของศ.คลินิกพญ. วินัดดา ปิยะศิลป์ ผช.ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบเด็กมีพฤติกรรมกลุ่มอาการเร่งเรียน- เรียนมากเกินวัย (Hurried child syndrome) มีทั้งเด็กเรียนเก่งและเรียนอ่อน เด็กจะบ่นว่าไม่อยากเรียน เหนื่อย เฉยเมย มีพฤติกรรมไม่สมวัย ไม่รับผิดชอบ เด็กบางคนสนุกร่าเริง พูดเก่ง สังคมดี ชอบเป็นผู้นำเด็กที่เล็กกว่า แต่ไม่ชอบเรียน การศึกษาเรื่องเวลาเรียนของนักเรียนไทยพบว่า ต้องเรียนถึงวันละ 8-11/12ชั่วโมง วิทยาการเรื่องระบบประสาทและสมองให้ความรู้ว่า การใช้สมองเรียนหรือคิดในการทำงานเกิน 5 ชั่วโมง สมองจะล้า ทำให้ด้อยประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การคิดจะเลียนแบบ ทำตาม จะไม่สามารถคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ หรือคิดวิธีการใหม่ๆได้ การศึกษาเรื่องการออกกลางคันนักเรียนชั้นป.1-ม.6 ปีการศึกษา 2541-2551 พบว่ามีนักเรียนออกกลางคันถึงร้อยละ 42.28 (http:\\www.moc.go.th) ซึ่งสาเหตุหนึ่งในหลายสาเหตุคือไม่อยากเรียนและเรียนอ่อน เนื่องจากระบบการศึกษาไทยยังไม่เข้าใจจิตวิทยาผู้เรียนแต่ละวัยและหน้าที่และกลไกการเรียนรู้ของสมองรวมทั้งประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของสมอง ดังจะเห็นได้จากการจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตร การกำหนดจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีการศึกษา การจัดตารางสอนที่แน่นด้วยเนื้อหาสาระแทบทุกชั่วโมงติดต่อกัน และเรียนต่ออีกหลังจากเรียนทั้งวันคือเรียนพิเศษ เรียนเสริมทักษะหรือเรียนกวดวิชา ทำให้สมองเด็กล้า ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การปฏิรูปวิธีสอนจึงต้องนำประเด็นนี้มาพิจารณาด้วย


1.5 ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง(The Second Language Acquisition Approach) 
ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาและศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาที่ให้ความรู้ว่า สมองซีกซ้าย-ขวาสร้างภาษาทั้งภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไปที่มนุษย์เรียนรู้ บันทึกสะสมความเข้าใจภาษาไว้ในสมอง Wernicke และสมอง Broca จะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืนจากสมอง Wernicke ออกไปใช้สื่อสาร ดังนั้นกระบวนการเรียนการสอนภาษาที่สองจึงคล้ายกับการเรียนภาษาแม่ ความแตกต่างมี 2 ประการคือ 
  1. เวลา(Time) แต่ละขั้นตอนของการ รับ-เรียนภาษาที่สองจะต้องจัดเวลาให้นักเรียนทำกิจกรรมสร้างภาษาในสมองเพียงพอ ไม่เร่งรัดหรือนานเกินไปเพราะจะทำให้นักเรียนเบื่อการเรียน 
  2. ระยะสร้างภาษาที่สองในสมองนักเรียน การจัดกิจกรรมจะต้องยึดลำดับขั้นตอนเรียนรู้ การสร้างภาษาของสมองซีก ซ้าย-ขวา กิจกรรมจะต้องมีคุณภาพคือใช้ประโยคหลักเสมอ(Quality)และเพิ่มความท้าทายทีละน้อย และต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิมในสมอง(Activate schema) จัดหลายกิจกรรม (Quantity) ต้องเป็นกระบวนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆจนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Scaffold) กิจกรรมต้องกระตุ้นสมองครบส่วนและพหุปัญญา(Variety) หรือ QQVT 
ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำและรศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภาผู้เชี่ยวชาญระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาได้ออกแบบเทคนิคการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี (The Second Language Acquisition Approach Cum Moral Development and Peace Instruction: SLAMP) อธิบายสภาพการรับ/เรียนภาษาที่สองภายในสมองของนักเรียนไว้  4 ระยะ ระยะที่ 1 รับและสะสมความเข้าใจภาษาที่สองในสมอง หรือสร้างภาษาที่สองในสมอง นักเรียนจะยังไม่เข้าใจ ทำให้สมองมึนงงสับสน เพื่อให้เข้าใจง่ายและจำได้ จึงใช้อักษรย่อ ง อธิบายสภาพการทำงานภายในสมอง คือ ขั้นงง ขั้นเงียบ ขั้นแง้ม ขั้นงอก และขั้นงาม ( 5ง งง / เงียบ / แง้ม / งอก / งาม) สำหรับนักเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาหรือผู้ใหญ่ มีข้อมูลภาษาที่สองในสมองจำนวนหนึ่ง เมื่อเรียนระยะที่ 2 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน-เขียน (Pre-reading) บทเรียนใหม่ย่อมทำให้สมองมึนงง สับสน เนื่องจากใช้ทักษะการอ่านแบบคร่าวๆ (Skim) การเดาคาดคะเนเรื่องที่อ่าน ไม่มั่นใจว่าจะเดาคาดคะเนถูกหรือผิด จึงให้ชื่อตามสภาพในสมองว่างัน-งง เมื่อเรียนระยะที่ 3 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด (During reading) ทำกิจกรรมรับ/เรียนภาษาที่สอง ใช้เทคนิควิธีสอนการสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิดตุ้นสมองซีกซ้าย-ขวา -ให้เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และเริ่มสร้างภาษาได้ จึงให้ชื่อตามสภาพเรียนรู้เข้าใจบ้างในสมองจะเริ่มสร้างภาษาได้ เรียกว่า เงย-งอก และเมื่อสมองสร้างมโนทัศน์และสร้างภาษาได้มากๆเก็บบันทึกไว้ในสมอง Wernicke มากทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ เกิดความรู้สึกว่าง่ายไม่ยาก และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาที่สอง มีความพร้อมที่จะเรียนระยะต่อไป จึงให้ชื่อตามสภาพสมองว่าระยะง่าย-งาม 

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านได้ออกแบบการรับ-เรียนภาษาที่ สองไว้ 4 ระยะดังนี้ 
  1. ระยะที่1 รับและสะสมความเข้าใจภาษาที่สองในสมอง (Speech comprehension) คือขั้นพูด-ฟัง กล่าวคือครูจะพูดภาษาที่สองในการทำกิจกรรมกับนักเรียนให้มากที่สุด เพื่อกระตุ้น สมองซีกซ้าย-ขวาสร้างภาษาที่สอง(Built schema)และบันทึกสะสมความเข้าใจภาษาไว้ในสมองWernickeให้มากๆ เนื่องจากสมองยังไม่มีภาษาที่สองมาก่อน เพื่อให้สมองBroca เรียกข้อมูลภาษาคืนจากสมองWernickeออกไปสื่อสารได้มาก แบ่งออกเป็น 2 ขั้น สำหรับขั้นที่ 1งง(Confusing stage)แสดงสภาพในสมองของนักเรียนจะมึนงง สับสน เพราะไม่เข้าใจภาษาที่ครูพูดกระตุ้น จึงดูครูและดูเพื่อนตลอดเวลา หลักการจัดกิจกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านให้ไว้เป็นสมการคือ C I = i + 1 เมื่อ i + 1 = QQVT สำหรับ C I(Comprehensible Input) หมายถึงกิจกรรมสร้างภาษาที่สองจะต้องมีคุณภาพสร้างความเข้าใจภาษาที่สองในสมองได้ และ i + 1 = QQVT หมายถึงกิจกรรมเล็กๆหลายกิจกรรมจะต้องมีคุณภาพ (Quality) ต่อกันเป็นกระบวนเสริมกัน(Scaffold) กล่าวคือครูต้องพูดประโยคหลักเสมอ เพิ่มความท้าทายทีละน้อยตามตารางกิจกรรมประจำวันหรือตารางสอน ตามสถานการณ์ ของจริงหรือใช้ภาษากายTPR(Total Physical Response) สอนความหมาย ห้ามพูดเรื่อยๆ พูดแบบเน้นและพูดแบบตะโกน ขั้นที่ 2 เงียบ(Comprehending stage) หมายถึงนักเรียนเริ่มเข้าใจภาษาที่สองที่ครูกระตุ้นสร้างเสริมจากการทำกิจกรรมประจำวันหรือตารางสอน ทำให้นักเรียนมีอิสระมากขึ้น ทำกิจกรรมการเรียนและกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง พฤติกรรมมึนงงไม่เข้าใจจะหายไป ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการเรียนได้สะดวกและสนุกมากขึ้น กระตุ้นให้ซีกซ้าย-ขวา รู้คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และสร้างความเข้าใจภาษาได้มากขึ้นตามลำดับ และบันทึกสะสมความเข้าใจภาษา ไว้ในสมองWernickeได้มากๆ ทำให้เกิดความพร้อมในการพูดหรือการส่งภาษาออกไปสื่อสารได้มากและมั่นใจ ปัญหาที่การเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเป็นเวลานานหลายปี นักเรียนสื่อสารแทบไม่ได้เ เพราะครูไม่เข้าใจความสำคัญของระยะที่ 1 การได้รับและสะสมความเข้าใจภาษาที่สองในสมองและเทคนิคการสร้างภาษาที่สองในสมองWernicke นอกจากจะสื่อสารไม่ได้แล้วยังส่งผลกระทบต่อการสอนอ่านและเขียนด้วยเทคนิคทักษะภาษาและทักษะการคิด 
  2. ระยะที่ 2 พูดได้(Speech production) หมายถึงนักเรียนสื่อสารภาษาที่สองด้วยความเข้าใจและมั่นใจ กระบวนการทำงานในสมองคือ สมองBroca จากเรียกข้อมูลภาษาคืนจากสมองWernicke ตามสายพานเชื่อม Arcuate facuiculus ส่งภาษาออกไปทางปากโดยมีสมองMotor cortex ช่วยให้กล้ามเนื้อปากและลิ้นเปล่งเสียงชัดเจน ระยะที่สองแบ่งเป็น 3 ขั้น คือขั้นที่ 3 แง้ม (Producing stage) การพูดครั้งแรกนักเรียนจะพูดแบบประโยคคำเดียว คือพูดเฉพาะคำสำคัญ(Telegraphic sentence) เช่นเดียวกับการพูดภาษาแม่ครั้งแรกของเด็กทุกชาติทุกภาษาในโลก เด็กไม่ได้พูดคำเดียวดังที่การสอนภาษาเข้าใจกัน แต่นักเรียนมีความเข้าใจภาษามากกว่าที่พูดได้ ทั้งครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมสร้างภาษาที่สองได้ราบรื่นขึ้น พร้อมพัฒนาไปสู่การรับ-เรียนภาษาที่สองขั้นต่อไป ขั้นที่ 4 งอก หมายถึงระยะที่ภาษาพัฒนามากขึ้น สามารถพูดประโยคยาวขึ้น 2-3-4 คำ จะมีคำคุณศัพท์ขยายประธาน คำวิเศษณ์ขยายคำกริษยารวมทั้งมีสันธานแบบเด็กเชื่อมประโยค ทำให้การสื่อสารภาษาที่สองมีความชัดเจน ถูกต้องและสร้างสรรค์ พร้อมที่จะพัฒนาภาษาที่สองขั้นต่อไป ขั้นที่ 5 งาม หมายถึงนักเรียนพัฒนาภาษามากขึ้น กล่าวคือสามารถสร้างภาษา(Generate) โดยนำคำที่นักเรียนเข้าใจออกมาใช้สื่อสารอธิบายความคิดของตนที่ตนเข้าใจและให้ผู้อื่นเข้าใจ เพราะนักเรียนยังไม่รู้จักคำเฉพาะที่ใช้เรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เช่นเด็กชายยศพล แข่งเพ็ญแขเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ 5 เดือน เรียนรู้และมีมโนทัศน์ว่าธงชาติไทยและธงอื่นๆมีหลายขนาดมีหลายสี ธงมีทั้งเก่าและใหม่ ธงอยู่บนยอดเสาธงและเวลาเย็นจะเก็บ แต่เมื่อเห็นเสื้อคอกลม ผ้าพันคอ หมวก พิมพ์ภาพธงชาติไทย เขาสงสัยแล้วถามว่าธงอะไร ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังคิดคำอธิบาย เด็กชายยศพลพูดว่าอ๋อ ธงชาติไทยแปลงร่าง หรือเมื่อเห็นเครื่องไหว้เจ้าที่ซึ่งจัดใต้ต้นกล้วย เขาสงสัยแล้วถามว่าอะไร ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังคิดคำอธิบาย เขาพูดว่าอ๋อไหว้พระต้นกล้วย เนื่องจากความคิดของเด็กวัยนี้กำลังพัฒนาขั้นรูปธรรมและภาษากำลังพัฒนามาก ถ้าผู้ใหญ่บอกว่าไหว้เจ้าที่ เขาก็จะพูดว่าขอจับเจ้าที่ ขณะที่ผู้ใหญ่ยังคิดคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมไม่ได้ เขาคิดสร้างคำ(Generatep)ให้ตนเองเข้าใจและให้ผู้อื่นเข้าใจได้ทันที โดยนำคำหรือภาษาที่เขาเข้าใจความหมายแล้วมาอธิบายอีกเหตุการณ์หนึ่งได้ ระยะที่ 2 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน-เขียน(Pre-reading) 
  3. ระยะที่ 3 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด(During-reading) และ
  4. ระยะที่ 4 การสร้างทักษะการเขียน(Post reading) ใช้เทคนิคการสอนคล้ายวิธีสอนภาษาแม่ ดังที่อธิบายในข้อ 1.2 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา เนื่องจากนักเรียนมีทักษะภาษาที่สองในสมอง Wernicke ระดับหนึ่ง ความแตกต่างมี 3 ประการคือ(1) ครูจะต้องใช้ภาษาที่สองสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกและทำกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด ใช้ประโยคหลักเสมอเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจภาษาที่สองที่ครูสื่อสาร (2) กิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องเชื่อมโยงกับความเข้าใจภาษาที่อยู่ในสมอง Wernicke ของนักเรียนหรือความรู้เดิมของนักเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีคุณภาพและต่อกันเป็นกระบวน (Scaffold) เพิ่มความท้าทายทีละน้อย ไม่กระโดดไปกระโดดมาทำให้นักเรียนสับสน เข้าใจยากและ (3)เวลา(Time) สำหรับทำกิจกรรมการรับ/เรียนภาษาที่สองแต่ละกิจกรรมต้องเหมาะสม ไม่เร่งรัดหรือใช้เวลามากเกินไป เพราะจะทำให้นักเรียนเบื่อ ดังนั้นการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งภาษาต่อๆไปที่จะเรียนเช่นภาษากลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องยึดทฤษฎีการรับภาษาที่สองของสมองจึงจะประสบผลดีในการเรียนภาษาตามจุดหมาย
1.6 ทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม (Humanistic Psychology) 
หรือทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาบุคลิกภาพเน้นการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้นที่ขาดไม่ได้ A.H.Maslow เป็นผู้นำ ให้ความรู้ว่าบุคลิกภาพตนจริง-สัจธรรมคือเป้าหมายสูงสุด ของการพัฒนาทรัพยากรคน หมายถึงบุคคลประพฤติตนด้วยคุณธรรมอยู่ในสภาวะที่เข้าใจตน เข้าใจชีวิต เข้าใจความจริงของชีวิตที่ไม่มีอะไรแน่นอนไม่ติดยึดทุกอย่างเป็นสัจธรรม Maslowให้หลักการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในบุคลิกภาพด้วยการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้นของชีวิต ที่ขาดไม่ได้ กล่าวคือขณะที่ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นมนุษย์เราพัฒนาบุคลิกภาพตามลำดับ 5ขั้นจากต่ำสุดไปสูงสุด ความต้องการขั้นที่ 1 เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดเป็นพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด เป็นต้องการด้านสรีระปัจจัย 4 เงิน เพศ เมื่อได้รับการตอบสนองจะขยับขึ้นสู่ ความต้องการขั้นที่ 2 คือความต้องการความปลอดภัยของชีวิตและปราศจากความรุนแรง จากความต้องการพื้นฐาน จะนำเข้าสู่ความต้องการค่านิยมพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ คือความต้องการขั้นที่ 3 และ 4 ความรักและความภูมิใจในความมีค่าของตน เมื่อได้รับการเติมเต็มจะสร้างพลังจิตใจที่เข้มแข็งเชื่อมั่นในตน เห็นตนมีค่า ริเริ่มคิดประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามเข้าสู่คุณธรรมด้วยตนของตน จิตใจเจริญเติบโตมีคุณธรรมมีความรับผิดชอบเกิดขึ้นในบุคลิกภาพ ทำให้ประสบความสำเร็จทั้งการดำเนินชีวิต อาชีพและสังคม ความต้องการความรักและศักดิ์ศรีขั้นที่ 3 และ 4 จะช่วยให้บุคคลพัฒนาตนเองเข้าสู่ขั้นที่ 5 คือการแสวงหาคุณธรรมซึ่งเป็นค่านิยมของทรัพยากรมนุษย์ (Bing Value /B Value) Maslow กล่าวว่าเด็กที่สร้างสารพัดปัญหา ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัยขาด คุณธรรมและขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในตน เพราะไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นที่ 3 และ 4 คือความรักและความภูมิใจในความมีค่าของตน ยิ่งขาดมากเท่าใดก็ยิ่งสร้างปัญหามากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าเด็กไม่ได้รับความรักและความภูมิใจเป็นพิเศษในช่วงอายุ 3- 9 ปี จะไม่รักไม่ภูมิใจในตนให้ความรักใครไม่เป็น เสียสละตนก็ไม่ได้ย่อมยากที่จะปลูกฝังคุณธรรม ความรักความภูมิใจทางจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยมหมายถึงการรับฟังตอบรับการฟังเสริมแรงให้กำลังใจด้วยการสื่อสารทางบวกที่มีประสิทธิผลทักษะฟังใจ คำพูดทางบวกจะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของสมอง 3 ประการคือ (1)กระตุ้นให้ระบบสมองส่วนกลางหลังสารสุขเอนโดโดฟีนและเซโรโทรนินส่งไปทั่วร่างกายทำให้สมองเปิดรับการเรียนรู้ทางวิชาการและจริยธรรม การเรียนรู้ราบรื่นและมีประสิทธิผล (2) คำพูดทางบวกสร้างพลังจิตใจที่เข้มแข็ง เชื่อมั่นริเริ่มคิดประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามเข้าสู่คุณธรรมด้วยตน และ (3) คำพูดทางบวกสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนแจ่มใสมีชีวิตชีวาและเป็นมิตร สังคมชั้นเรียนมีความสงบสันติ ตรงจุดนี้เอง ระบบการสอนจึงนำความต้องการขั้นที่ 3 และ 4 คือความรัก ความภูมิใจในความมีค่าของตน มาพัฒนาเป็นการสื่อสารทางบวกที่มีประสิิทธิผล ทักษะฟังใจ  ซึ่ง Dr. Thomas Gordon ได้ศึกษาวิจัยกลยุทธการสื่อสารทางบวก ทักษะฟังใจในครอบครัว ในโรงเรียน และในองค์กร มืชื่อเสียงระดับนานาชาติ  ดังนั้น ครูจึงต้องสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับนักเรียนขณะสอน  ซืึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10%  ในทางตรงข้ามการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางลบใช้อำนาจและความรุนแรง จะเกิดผลเสีย 3 ประการ (1) กระตุ้นให้สมองหลั่งสารทุกข์คอร์ติโซลและอาดรีนาลีนส่งไปทั่วร่างกายทำให้สมองปิดรับการเรียนรู้ทั้งมวลใช้วิธีอะไรก็ไม่ได้ผล (2) สร้างจิต-พฤติกรรมทางลบโกรธแค้น ดื้อ ต่อต้านไม่สนใจการเรียนรวมหัวตั้งแก๊งค์สู้กลับ หรือขลาดกลัว ยอมตาม ประจบเอาใจและ (3) ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนตึงเครียด หวาดกลัวไม่ปลอดภัย คนต่างอยู่ตัวใครตัวมัน ดังนั้นครูจึงต้องสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับนักเรียนและบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธี การศึกษาวิจัยตั้งแต่พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2555 สรุปตรงกันว่าครูสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางลบใช้อำนาจความรุนแรงในการบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน 

ดังนั้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบันสพอ/สปช อาจารย์นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข ดร.ชวลิตโพธินครและอาจารย์พัชรา ประวาลพิทย์และคณะ จึงวิจัยและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวก การบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธีและการปรับปรุงโครงสร้างสังคมนักเรียน/โรงเรียนสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียน จำนวน 3 เรื่อง กล่าวคือปีพ.ศ. 2542 ศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการเสริมพลังจิตใจคุณธรรมจริยธรรมเยาวชนตามทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม จัดทำคู่มือครูกลยุทธ์การเสริมพลังจิตใจสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกลดการใช้ความรุนแรง 10 กลยุทธ์ ได้รับทุนที่สนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพิทักษ์สิทธิเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุ(สท.) ได้พิมพ์ครูฉบับนี้เผยแพร่ 3 ครั้ง ปีพ.ศ. 2548 ศึกษาวิจัยรูปแบบการสร้างค่านิยมสันติวิธีร่วมกับจริยธรรมในระบบการสอน ศึกษาการใช้กลยุทธ์สันติวิธี การร่วมเจรจาจัดการความขัดแย้งและปัญหาระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน กลยุทธ์สันติวิธีหมายถึงการร่วมเจรจาหาทางออกแก้ไข ความขัดแย้งและปัญหา ทุกฝ่ายจะได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่ใช่ 100% ความต้องการบางอย่างอาจถูกปฏิเสธ ซึ่งจะดีกว่าขัดแยังกันต่อไปและไม่มีใครได้อะไรเลย มีแต่ความสูญเสียทั้งสองฝ่าย และกลยุทธ์ครูเป็นคนกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีคิดหาทางแก้ปัญหา ครูเลิกทำตัวเป็นอัยการและผู้พิพากษาเดิมๆที่เคยชิน นักเรียนเสนอคำพูดทางบวก 40 คำพูดที่ต้องการให้ครูพูดพวกเขา และคำพูดทางลบ 80 คำพูดที่นักเรียนไม่ต้องการให้คูรใช้พูดกับพวกเขา คำพูดทางลบ 80 คำพูดที่นักเรียนไม่ต้องการให้ครูใช้สื่อสารกับพวกเขา ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า ปีพ.ศ. 2553 ได้เรียบเรียงคู่มือสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนจำนวน  2 เล่ม


1.7 องค์ความรู้เรื่องสันติวิธี: การบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธี
ศึกษาวิจัยตั้งแต่พ.ศ. 2522- 2555 เรื่องพฤติกรรมการสื่อสารปฏิสัมพันธ์และการบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาในโรงเรียนของหน่วยงานต่างๆสรุปตรงกันว่าความรุนแรงในโรงเรียนมี 2 แบบ คือความรุนแรงระหว่างครูกับนักเรียนและความรุนแรงระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน มีการใช้ความรุนแรงแบบใหม่ อายุนักเรียนที่ใช้ความรุนแรงน้อยลงและหลายๆครั้งความรุนแรงถึงขั้นอาชญากรรมครูร้อยละ 75.5 มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องว่าการใช้ความรุนแรงลงโทษทางกายเพราะเป็นวิธีการสอนให้เด็กเป็นคนดีมีวินัย ด้วยเหตุนี้ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จึงกล่าวว่าความรุนแรงในโรงเรียนเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและความรุนแรงทางสังคม เป็นมูลเหตุความรุนแรงทุกชนิดในสังคมไทยและเป็นการปิดกั้นไม่ให้ตั้งคำถาม เพราะความรุนแรงเป็นวิธีสอน ประการสำคัญการที่ครูใช้ความรุนแรงกับนักเรียนเป็นการสอนเด็กแบบตรงและตอกย้ำว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งมีทางเดียวเท่านั้นคือการใช้ความรุนแรงลงโทษ นักเรียนก็มองไม่เห็นทางเลือกอื่นใดที่ไม่ใช้ความรุนแรง นักเรียนจะคิดว่าตนถูกเพื่อนรังแกแล้วยังถูกครูลงโทษอีก ตอกย้ำให้นักเรียนใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เพราะถึงอย่างไรก็ต้องถูกครูลงโทษอยู่ดี ความยุติธรรมไม่มีจริง ผู้ใหญ่พึ่งไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าความรุนแรงในโรงเรียนบ่มเพาะให้นักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือขลาดกลัว เติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา จึงเป็นมูลเหตุให้สังคมไทยมีความรุนแรงแทบทุกชนิดและใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ได้แก่ความรุนแรงทางสังคม ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงทางสาธารณสุข ความรุนแรงทางการเมือง-การก่อการร้ายและความรุนแรงแบบแยกประเภทเทียม เพียงแต่คิดว่าเขาไม่ใช่พวกของเราก็อาจจะใช้ความรุนแรงทำร้ายได้ เนื่องจากครูขาดความเข้าใจจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นและขาดความเข้าใจเรื่องการจัดการความขัดแย้งและปัญหาด้วยสันติวิธี การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเป็นความสามารถเฉพาะตัวของครู ดังนั้นจึงต้องปฏิรูปโครงสร้างสังคมโรงเรียน ศึกษาสังคมวิทยานักเรียน สังคมวิทยาครูและสังคมวิทยาโรงเรียน เนื่องจากผลการวิจัยสรุปตรงกันว่าโรงเรียนมีความรุนแรงและแทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 30 ปี ดังกล่าวข้างต้น และดังการวิเคราะห์ของศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ในรายงานวิจัยเรื่องความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย สำนักพิมพ์มติชนพ.ศ. 2553   
โรงเรียนเป็นสังคมรูปแบบหนึ่งที่มีการทับซ้อนกันและสัมพันธ์กันระหว่าง 3 สังคมคือสังคมวิทยานักเรียน สังคมวิทยาครูและสังคมวิทยาโรงเรียน ทุกสังคมความสัมพันธ์ของสมาชิกมีทั้งร่วมมือ แบ่งปัน แข่งขันอย่างมีกติกา ขัดแย้งและขัดแย้งสุดโต่ง ดังนั้นทุกสังคมสมาชิกจึงเห็นชอบที่จะมีกฏเกณฑ์ข้อตกลงของอยู่ร่วมกันเพื่อความมั่นคง ได้แก่การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ที่บุคคลยินดีจะปฏิบัติต่อกันคือการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวก รับฟังตอบรับการฟังเสริมแรงให้กำลังใจ ไม่สื่อสารทางลบ ดุ ตำหนิ ประเมิน ประณาม เปรียบเทียบ และเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งสมาชิกยินดีร่วมกันเจรจาหาทางออกที่ทุกคนจะได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่ใช่ 100% ความต้องการบางอย่างอาจถูกปฏิเสธ ย่อมดีกว่าการขัดแย้งกันต่อไป โดยทั้งสองฝ่ายไม่ได้อะไร มีแต่ความสูญเสีย ประการสำคัญขณะครูสอนความขัดแย้งและปัญหาเกิดขึ้นเสมอไม่อาจคาดเดา  ดังนั้นจึงต้องนำองค์ความรู้สันติวิธีสำหรับโรงเรียนมาใช้จัดการความขัดแย้งและปัญหาขณะสอนแทนการใช้อำนาจและความรุนแรงแบบเดิมที่เคยชินรวมทั้งปรับปรุงสังคมวิทยานักเรียนครูและโรงเรียน สร้างสรรค์ติดวัฒนธรรมในโรงเรียน สำหรับแนวทางการนำสันติวิธีเข้าสู่ห้องเรียนเบื้องต้นมี 3 ประการคือ (1) ป้องกันการขัดแย้งที่ไม่จำเป็น ได้แก่การวางกฎกติกาชั้นเรียน การเตรียมเครื่องเรียนให้พร้อมและการตั้งผู้ช่วยครูประจำวัน (2) ร่วมเจรจาหาทางแก้ปัญหาของคู่กรณี และ(3) ครูทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยในการแก้ปัญหา ครูไม่รับบทบาทเป็นเจ้าของปัญหาของนักเรียน ให้นักเรียนร่วมคิดหาทางออก เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี จะมีความยั่งยืนในการจัดการปัญหาความขัดแย้งและปัญหา ครูยุติบทบาทเป็นผู้พิพากษา ในระบบการสอนครูจะใช้เวลาประมาณ 10% ในการบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธี
1.8 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา (Sociolinguistics)
ให้ความรู้ว่า ภาษาที่สร้างในสมองจะถูกนำมาใช้ในสังคมเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา สำหรับด้านการจัดการเรียนการสอนจะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมแบบเดี่ยว คู่ และกลุ่ม กระตุ้นให้นักเรียนระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดและแสดงออกทางภาษา วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญเพื่อการนำเสนอ การเรียนแบบกลุ่มจะช่วยกระตุ้นความคิดทางภาษาได้มาก สำหรับกระบวนการมี 6 กระบวนดังนี้
  1. คิดเดี่ยว เพื่อรวบรวมความรู้ ความคิดของตนให้พร้อม มีทุนที่จะแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ 
  2. คิดแบบคู่ เพื่อฝึกการรับฟังผู้อื่น การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
  3. คิดแบบกลุ่ม เพื่อฝึกการระดมความคิด และทำผลงานแบบกลุ่ม การเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของกลุ่ม
  4. คิดและทำงานเดี่ยว จากการเรียนรู้ขั้นที่ 1-3 จะช่วยให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ เพราะได้เรียนรู้มามาก 
  5. การนำเสนอผลงาน
  6. การประเมินผลงานตามสภาพที่แท้จริง
(นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข. พ.ศ. 2548 พิมพ์ครั้งที่ 2 กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นสมอง เทคนิคบูรณาการสมองครบส่วนและพหุปัญญา)